วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ความหมายของสิ่งแวดล้อม




เมื่อกล่าวถึงคำว่า "สิ่งแวดล้อม" ก็มักจะมีผู้เข้าใจกันไปถึงเรื่องของน้ำเน่า ควันและไอเสีย จากรถยนต์ หรือมูลฝอย ฯลฯ แต่โดยความเป็นจริงแล้ว สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่มีความหมายและขอบเขตกว้างกว่านั้นมาก เนื่องจากสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาในเรื่องของความสมดุลของธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการใช้ทรัพยากรที่ไม่ถูกต้องนั่นเอง
นักวิชาการสิ่งแวดล้อมหลายท่าน ได้พยายามให้คำจำกัดความของคำว่า "สิ่งแวดล้อม" อยู่เนืองๆ แต่ก็โดยเหตุที่ว่าสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องกว้างขวางนี่เอง จึงทำให้คำจำกัดความและความหมายแตกต่างกันไปบ้าง อย่างไรก็ตามทุกท่านก็ได้ยึดถือหลักการเดียวกันและเข้าใจตรงกันทั้งสิ้น เพื่อที่จะให้เกิดความเข้าใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อมทั่วไป เราอาจสรุปความหมายอย่างง่ายๆ ของสิ่งแวดล้อมได้ว่า



"สิ่งแวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรม (จับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม (วัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ) มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ้งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฎจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ" อย่างไรก็ดี สิ่งแวดล้อมอาจแยกออกเป็นลักษณะกว้างๆ ได้ 2 ส่วนคือ สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ภูเขา ดิน น้ำ อากาศ ทรัพยากร ทุกประเภท และ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชนเมือง สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม ฯลฯ เป็นต้น

มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

จากความหมายของคำว่า สิ่งแวดล้อม ดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่ามนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างแนบแน่นในอดีตปัญหาเรื่องความสมดุลของธรรมชาติตามระบบนิเวศยังไม่เกิดขึ้นมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนในยุคต้นๆ นั้น มีชีวิตอยู่ใต้อิทธิพลของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงอยู่ในวิสัยที่ธรรมชาติสามารถปรับดุลของตัวเองได้ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและปัญหาสิ่งแวดลล้อมที่รุนแรง จึงยังไม่ปรากฎแต่อย่างไรก็ตามจากการที่ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมขยายตัวมากขึ้น และเกือบทุกประเทศต่างก็มุ่งพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจกันอย่างจริงจัง ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมจึงปรากฎให้เห็นบ้าง แต่ก็ยังพอที่จะอยู่ในวิสัยและสภาพที่รับได้ กาลเวลาผ่านมาจนกระทั่งถึงระยะเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา ( ระยะสิบปี ) ซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" นั้น ปรากฏว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงทางด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหาดังกล่าวนี้ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น - ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ อากาศ ดิน และสารเคมีต่างๆ - ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลาย และหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา เป็นต้น - ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมฃนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดการแออัดยัดเยียด ใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรม และปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได้แก่มูลฝอย เป็นต้น
เมื่อผลจากการเร่งรัดพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ปรากฎว่าในหลายกรณีก่อให้เกิดความเสื่อมโทรม ในด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น นักพัฒนาและนักวางแผนที่มีเหตุผลก็เริ่มตระหนักว่าการเร่งรัดนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้มากที่สุด เพื่อเร่งและเน้นความเจริญทางด้านวัตถุนั้นอาจจะไม่สามารถสร้างคุณภาพที่ดีของชีวิตความสุข ความสะดวกสบายให้แก่ชีวิตดังที่มุ่งหมายไว้ได้ ทั้งนี้ ก็ด้วยเหตุผลที่ว่ามนุษย์อาจจะมีความสะดวกสบายมากขึ้น แต่ก็ต้องเสี่ยงกับภัยจากมลพิษ เช่น มลพิษในอากาศ ในน้ำ ในอาหาร และความเสื่อมโทรมทางด้านสุขภาพจิต เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนั้น แนวทางของการพัฒนาในปัจจุบัน จึงเริ่มเปลี่ยนแปลงเพราะว่าได้มีการนำเอาความผิดพลาดจากอดีตมาพิจารณาทบทวน และให้ความสำคัญปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ตลอดจนได้มีความเห็นพ้องกันว่า การพัฒนาที่ถูกต้องนั้น ควรเป็นการพัฒนาที่มุ่งจะยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นสูงขึ้นในด้าน มากกว่าจะเป็นการเล็งผลเสียทางด้านรายได้เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมแต่เพียงประการเดียวอย่างไรก็ตามมีอยู่บ่อยครั้งที่มีผู้มองเห้นว่า การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาตินั้น เป็นการขัดขวางการพัฒนาและความเจริญของประเทศ ซึ่งการมองในลักษณะเช่นนี้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นการมองปัญหาด้านเดียว ความเป็นจริงแล้วทั้งการพัฒนาและการรักษาคุรภาพสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่สามารถดำเนินการควบคู่กันไปได้เพียงแต่ร่วมกันพิจารณาหาจุดแห่งความสมดุลซึ่งจะก่อประโยชน์ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสามารถรักษาดุลยภาพแห่งสภาวะแวดล้อมและธรรมชาติไว้ได้ด้วย

เที่ยวชมดอกไม้ทั่วไทย




ดอกไม้...ความสวยงามตามธรรมชาติที่ช่วยแต่งแต้มโลกของเราให้สวยงาม ดึงดูดใจให้เราไปเที่ยวชมในสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งของดอกไม้ โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศสดใสในฤดูหนาว ช่วงปีใหม่ ถึงวันวาเลนไทน์จะมีความสุขใจเป็นพิเศษ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย มีดอกไม้หลากสีหลายพันธุ์ทั้งในธรรมชาติและในสวนสวยต่างผลิบานรับลมหนาว ช่วยเสริมบรรยากาศการท่องเที่ยวให้มีสีสันมีชีวิตชีวา รวมทั้งยังมีงานเทศกาลต่าง ๆ เกี่ยวกับดอกไม้ซึ่งจัดให้มีขึ้นมากมายในช่วงนี้

ภาคเหนือ


ตั้งแต่เหนือสุดของไทยไล่มาจนถึงจังหวัดตอนล่าง มีดอกไม้ผลิบานรอรับการมาเยือนของนักท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ เริ่มจาก เชียงราย หลังจากดอกบัวตองโรยแห้งไปบนดอยหัวแม่คำในเดือนธันวาคม ก็จะถึงเวลาของดอกซากุระบานบนดอยแม่สลอง มีให้ชมประมาณเดือนธันวาคม-มกราคม ต่อด้วยช่วงเวลาของดอกเสี้ยวป่า หรือชงโคขาวที่จะบานอยู่ทั่วไปบนภูชี้ฟ้าในเดือนกุมภาพันธ์ หากหากใครสนใจชมแปลงดอกไม้เมืองหนาวสวย ๆ อย่าลืมแวะผ่านสถานีเกษตรดอยผาหม่น ระหว่างทางไปภูชี้ฟ้า หรือจะไปที่ดอยตุง ที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง ชมสวนแม่ฟ้าหลวง ด้านหน้าพระตำหนักดอยตุง ก่อนเลยไปที่สวนรุกขชาติบนดอยช้างมูบชมดอกอาซาเลีย ดอกป็อปปี้ซึ่งรวมไว้ที่นี่มากที่สุดในเมืองไทย นอกจากนี้ระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม2551 - 5 มกราคม 2552 จังหวัดเชียงรายจัด งานเทศกาลเชียงรายดอกไม้งาม ณ สวนสาธารณะหาดเชียงราย มีดอกกล้วยไม้ ไม้ดอกเมืองหนาวนานาพรรณมาจัดแสดงมากมายน่าตื่นตาตื่นใจ


ภาคกลาง

ในกรุงเทพฯช่วงหน้าหนาว ตามสวนสาธารณะมีการปลูกดอกไม้สวยงามหลายแห่ง อาทิ สวนหลวง ร.9 สวนสราญรมย์ และที่สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เป็นสวนพฤกษศาสตร์มีพิพิธภัณฑ์ที่สามารถเรียนรู้พรรณไม้ดอกต่าง ๆ มากมาย สำหรับแหล่งปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่สวยที่สุดของ จ.ชลบุรี ต้องไปที่สวนนงนุช อ.สัตหีบ มีพรรณไม้ในสวนสวยหลากหลายแบบหลายสไตล์ สวนเนินดอกไม้ สวนกล้วยไม้ สวนสับปะรดสี สวนตุ๊กตากระถาง สวนฝรั่งเศส ฯลฯ และที่ จ.ชลบุรียังมีการจัดงานพฤกษาตะวันออก มหกรรมประกวดไม้ดอกไม้ประดับระดับประเทศ วันที่ 16-25 มกราคม 2552 ที่หน้าศาลากลางจังหวัดชลบุรีอีก


สำหรับผู้ที่ชอบความสดใสละลานตาของทุ่งทานตะวัน นอกจากที่ จ.สระบุรี จะมีให้ชมตลอดฤดูหนาวแล้ว ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ก็สามารถชื่นชมความสวยงามของ ทุ่งทานตะวันที่หัวหิน ได้เช่นกัน ดอกทานตะวันที่วัดห้วยมงคล อ.หัวหิน จะบานสะพรั่งเต็มพื้นที่บริเวณเนินเขาเบื้องหลังองค์หลวงพ่อทวด ตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคมเป็นต้น


ภาคอีสาน


ชมดอกไม้ป่าบานบนลานหิน ที่ทุ่งดอกไม้งามตามรอยเสด็จ ที่บริเวณน้ำตกสร้อยสวรรค์ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ซึ่งมีให้ชมถึงเดือนมกราคม ถ้าพลาดต้องมาชมใหม่ปีหน้า เลยขึ้นมาที่ จ.อำนาจเจริญ พบกับแหล่งปลูกดาวเรืองสีเหลืองทองดอกใหญ่ในพื้นที่กว่า 30 ไร่ที่สวนเกษตรชิตสกนธ์รีสอร์ท ณ ภูเรือ จังหวัดเลย ดินแดนแห่งดอกไม้ ทะเลหมอก หนาวสุดในสยาม ชมแปลงปลูกไม้ดอกเมืองเมืองหนาวมากที่สุดในประเทศ สามารถซื้อหากลับไปปลูกในสวนสวยที่บ้าน อาทิ พิทูเนีย ไฮเดรนเยีย ซัลเวีย คริสมาสต์ ฯลฯ ไปจนถึงกล้วยไม้ ตามรีสอร์ทที่ภูเรือ-ด่านซ้าย ก็ประดับไปด้วยดอกไม้ มีสวนดอกไม้หลายแห่งที่เปิดให้เข้าชมตลอดฤดูหนาว เช่น ทีเอสเอฟาร์ม คำนวณเนอร์สเซอรี่ สวนภูมิพฤกษา โดยอำเภอภูเรือจัด งานไม้ดอกเมืองหนาวภูเรือ ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2550 - 3 มกราคม 2552 สำหรับผู้ที่ชอบการเดินป่าชมและถ่ายภาพดอกไม้ในธรรมชาติ ต้องไปที่ภูกระดึง หน้าหนาวชมดอกกระดุมเงินกระดุมทองบนลานหิน และกุหลาบป่าสีแดงสดเต็มต้น ใบเมเปิลเปลี่ยนเปลี่ยนเป็นสีแดง ส่วนที่ภูหลวงช่วงหลังปีใหม่จะได้เห็นกุหลาบป่ามากมายเช่นกัน รวมทั้งดอกสนสามใบแปลกตาบนปลายกิ่ง มองดูคล้ายเทียนมากมายปักอยู่บนต้นคริสต์มาส





























ใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยอย่างไร?


ใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยอย่างไร? ให้มีความสุข การเข้ามาอยู่ในมหาวิทยาลัย อาจเป็นเหมือนชีวิตใหม่ของใครหลายๆ คน เพราะต้องจากบ้าน จากครอบครัว จึงต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ โดยการใช้ความสามารถของตนในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงความรู้สึกนึกคิด และความต้องการของตนเองให้สามารถแสดงพฤติกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของตนอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกลมกลืนกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อม การใช้ชีวิตในสังคมมหาวิทยาลัยให้มีความสุขนั้น จึงจำเป็นต้องมีสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้


1. มีเป้าหมายในชีวิตที่แน่นอน นักศึกษาต้องมีการวางเป้าหมายในการเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยว่าตนมีเป้าหมายใดบ้าง เช่น เพื่อศึกษาหาความรู้ เพื่อเรียนรู้การใช้ชีวิตในสังคม เป็นต้น


2. การปรับตัว การอยู่ร่วมกันในสังคม จำเป็นต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ สิ่งแวดล้อม ผู้ร่วมงาน ตลอดจนเพื่อนๆ และครูอาจารย์


3. ความรับผิดชอบ เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทุกคนต้องมี ทั้งความรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคมส่วนรวม ผู้ที่ขาดความรับผิดชอบจะไม่สามารถเดินไปถึงความสำเร็จที่คาดหวังไว้ได้ เช่น บางคนหมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกมส์ ไม่สนใจการเรียน ไม่รู้จักแบ่งเวลาให้เหมาะสม เป็นต้น ทำให้ได้เกรดเฉลี่ยต่ำ บางคนก็ถูกคัดตกออกไปก็มี


4. การช่วยเหลือสังคมและรู้จักการทำความดีเพื่อสังคม เป็นการทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน เช่น การออกค่าย สร้างโรงเรียน บริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นต้น


5. รู้จักมองโลกในแง่ดี ถึงแม้ว่าจะต้องประสบกับปัญหาหรือความยากยุ่งใจ ก็มองในแง่ดีว่าปัญหาเหล่านั้นจะสามารถแก้ไขให้ผ่านพ้นไปได้


6. กตัญญูรู้คุณ ต้องรู้จักตอบแทนบุญคุณผู้ที่เคยให้ความช่วยเหลือเรา รวมถึงการกตัญญูต่อบิดามารดาผู้ซึ่งให้กำเนิดและเลี้ยงดูเรามา และครูอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาสน์วิชาความรู้ให้กับเราไม่ว่าจะเป็นชีวิตใดๆ ล้วนแล้วแต่มีคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นชีวิตที่ตัวใหญ่เท่าช้าง หรือชีวิตที่ตัวเล็กเท่าแล็คโตบาซีรัส ก็คือ “หนึ่งชีวิตเท่าเทียมกัน ล้วนมีคุณค่าต่อการดำรงอยู่ไม่แตกต่างกัน”




ทฤษฎีองค์การ

พัฒนาการของทฤษฎีองค์การที่แบ่งเป็น 3 ยุค คือ

1.ยุคคลาสสิก

2.ยุคนีโอคลาสสิก

3.ยุคสมัยใหม่



1.ทฤษฎีองค์การในยุคคลาสสิก (Classical Organization Theory) เป็นยุคเริ่มต้นของการศึกษาองค์การ แนวคิดหลักของยุคนี้คือความพยายามในการแสวงหาหลักการทำงานและหลักการบริหารที่ดีที่สุด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหาร ทฤษฎีสำคัญๆในยุคนี้ เช่น -การจัดการแบบวิทยาศาสตร์ของเฟดเดอริก ดับเบิลยู เทเลอร์ -หลักการบริหารของกุลลิค-เออร์วิค -องค์การตามระบบราชการของแมกซ์ เวเบอร์


2.ทฤษฎีองค์การยุคนีโอคลาสสิก (Neoclassical Organization Theory) เป็นยุคที่นักวิชาการออกมาวิจารณ์แนวคิดในยุคแรก เนื่องจากแนวคิดยุคแรกให้ความสำคัญกับ หลักการทำงานและการการบริหารงานมากเกินไป โดยละเลยคนในองค์การ ยุคนีโอคลาสสิกจึงเสนอว่า การจะให้องค์การมีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพจะต้องให้ความสำคัญกับคนในองค์การทั้งในเรื่องของจิตใจ ความต้องการ และพฤติกรรมของบุคคลและกลุ่มในองค์การ ทฤษฎีองค์การในยุคนี้จะมีจุดหลักอยู่ที่นักทฤษฎีในกลุ่มมานุษยนิยม (Humanism) เช่น เอลตัน เมโย /อับราฮัม มาสโลว์ /เฮอร์เบิร์ต ไชม่อน/แมรี่ ปากเกอร์ ฟอลลเลต และคนอื่นๆอีกมาก โดยทฤษฎีที่นำเสนอส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของคน


3.ทฤษฎีองค์การยุคใหม่ (Modern Organization Theory) เป็นแนวคิดที่มองว่าทฤษฎีใน 2 ยุคแรกเป็นการมององค์การในระบบปิด (Closed Perspective) คือไม่สนใจสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ทฤษฎีองค์การยุคใหม่มองว่าองค์การนั้นอยู่ภายใต้สภาวะแวดล้อมและสิ่งแวดล้อมมีผลอย่างยิ่งต่อองค์การและการบริหารงานในองค์การ ดังนั้นการศึกษาองค์การจึงควรศึกษาในระบบเปิด (Open Perspective) ทฤษฎีองค์การในยุคใหม่เช่น -ทฤษฎีการมององค์การเชิงระบบ (Systems Approach) -ทฤษฎีองค์การตามสถานการณ์ (Situation or Contingency Approach) -ทฤษฎีองค์การที่เน้นการกระทำ (The Action Approach) -มุมมองเชิงปริมาณ -แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการและการสร้างความเป็นเลิศ -การจัดการคุณภาพโดยรวม ทฤษฎีองค์การยุคใหม่จะเน้นองค์การที่ไม่เป็นทางการ มีความยืดหยุ่นสูง ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็ว และเน้นการทำเทคนิคการบริหารสมัยใหม่มาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการ Balance Scorecard องค์การแห่งการเรียนรู้ Benchmarking การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นต้น


รัฐประศาสนศาสตร์


การบริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ (public administration) คือ การดำเนินการทั้งปวงของฝ่ายบริหาร ยกเว้นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ โดยมีจุดมุ่งหมายให้นโยบายของรัฐที่วางไว้บรรลุผล อาจมองได้ทั้งเป็นการปฏิบัติการและการเป็นสาขาวิชาแขนงหนึ่ง ในการบริหารและจัดการภาครัฐ จะไม่เหมือนการบริหารธุรกิจที่เน้นกำไรสูงสุด (profit maximize) แต่เป็นการเน้นการให้บริการที่ให้ลูกค้าพึงพอใจ โดยลูกค้าก็คือ ประชาชนที่มาใช้บริการ และต้องเป็นการให้บริการต่อทุกคนอย่างเป็นธรรม


Public หมายถึง ข้าราชการ กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐพึงปฏิบัติ Administration หมายถึง ความพยายามในการที่จะร่วมมือกันดำเนินการในองค์การ Public Administration หมายถึง การร่วมมือกันดำเนินงานของรัฐ รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration เป็นวิชาที่ศึกษาค้นคว้าทางด้านการบริหารงานภาครัฐ บริหารธุรกิจ Business Administration การบริหารงานของบริษัทห้างร้านเอกชนหรือธุรกิจอื่น


ความหมายของการบริหาร Herbert A Simon กล่าวว่า การบริหาร หมายถึง กิจกรรมของกลุ่มบุคคลที่ร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ร่วมกัน Ernest Dale กล่าวว่า การบริหาร หมายถึง การทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปโดยใช้ผู้อื่นเป็นผู้กระทำ * Administration เป็นการบริหารจัดการ ในองค์การขนาดใหญ่ องค์การทางราชการ หรือบริหารราชการ ภาครัฐ * Management เป็นการบริหารจัดการ ในองค์การธุรกิจ การบริหารภาคธุรกิจเอกชน


Thomas S. Khun กำหนดคำว่า Paradigm เป็นเสมือนการกำหนดแก่นของปัญหา แนวทางแก้ปัญหา Nicholas Henry แบ่ง พาราไดม์ ออกเป็น 5 ส่วน 1. การแยกการบริหารออกจากการเมือง (The Politics / Administration Dichotomy) Woodrow Wilson เขียนบทความ “The study of Administration” เป็นบิดาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ อเมริกา (บิดา รัฐประศาสนศาสตร์ ยุโรปและเยอรมันคือ Max Weber) ผู้ให้การสนับสนุน : Frank J. Good now และ Leanard D. White 2. หลักการบริหาร (The principle of Administration ผู้เขียน William F. Willoughby) ผู้ให้การสนับสนุน : Federick W. Taylor , Henri Fayol , Luther Guliek & Lyndall Urwick (คิดกระบวนการบริหาร POSDCORB) , Mary P Follet ผู้ไม่เห็นด้วย เพราะคิดว่าเป็นเพียงภาษิตทางการบริหาร (Proverbs of Administration) : Fritz M. Mark , Dwight waldo , John M. guas , Norton E. long 3. การบริหารรัฐกิจ คือ รัฐศาสตร์ (Public Administration as political science) ยุคนี้ไม่ค่อยมีความก้าวหน้านัก 4. การบริหารรัฐกิจ คือ ศาสตร์ทางการบริหาร (Public Administration Administrative science) แนวความคิด Organization Theory ทฤษฏีองค์การ และ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ Operation Research เน้นศึกษา System Analysis , Cybernatic , Network Analysis , Program management 5. การบริหารรัฐกิจ คือ การบริหารรัฐกิจ (Public Administration as Public Administration) นักวิชาการได้สร้าง รัฐประศาสนศาสตร์ให้เป็นสหวิชาการ (Interdisciplinary) ทำให้เกิดแนวคิด – การพัฒนาองค์กร , นโยบายสาธารณะ , ทางเลือกสาธารณะ , เศรษฐศาสตร์การเมือง , การจัดการองค์กรสมัยใหม่