วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2551

รัฐประศาสนศาสตร์


การบริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ (public administration) คือ การดำเนินการทั้งปวงของฝ่ายบริหาร ยกเว้นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ โดยมีจุดมุ่งหมายให้นโยบายของรัฐที่วางไว้บรรลุผล อาจมองได้ทั้งเป็นการปฏิบัติการและการเป็นสาขาวิชาแขนงหนึ่ง ในการบริหารและจัดการภาครัฐ จะไม่เหมือนการบริหารธุรกิจที่เน้นกำไรสูงสุด (profit maximize) แต่เป็นการเน้นการให้บริการที่ให้ลูกค้าพึงพอใจ โดยลูกค้าก็คือ ประชาชนที่มาใช้บริการ และต้องเป็นการให้บริการต่อทุกคนอย่างเป็นธรรม


Public หมายถึง ข้าราชการ กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐพึงปฏิบัติ Administration หมายถึง ความพยายามในการที่จะร่วมมือกันดำเนินการในองค์การ Public Administration หมายถึง การร่วมมือกันดำเนินงานของรัฐ รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration เป็นวิชาที่ศึกษาค้นคว้าทางด้านการบริหารงานภาครัฐ บริหารธุรกิจ Business Administration การบริหารงานของบริษัทห้างร้านเอกชนหรือธุรกิจอื่น


ความหมายของการบริหาร Herbert A Simon กล่าวว่า การบริหาร หมายถึง กิจกรรมของกลุ่มบุคคลที่ร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ร่วมกัน Ernest Dale กล่าวว่า การบริหาร หมายถึง การทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปโดยใช้ผู้อื่นเป็นผู้กระทำ * Administration เป็นการบริหารจัดการ ในองค์การขนาดใหญ่ องค์การทางราชการ หรือบริหารราชการ ภาครัฐ * Management เป็นการบริหารจัดการ ในองค์การธุรกิจ การบริหารภาคธุรกิจเอกชน


Thomas S. Khun กำหนดคำว่า Paradigm เป็นเสมือนการกำหนดแก่นของปัญหา แนวทางแก้ปัญหา Nicholas Henry แบ่ง พาราไดม์ ออกเป็น 5 ส่วน 1. การแยกการบริหารออกจากการเมือง (The Politics / Administration Dichotomy) Woodrow Wilson เขียนบทความ “The study of Administration” เป็นบิดาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ อเมริกา (บิดา รัฐประศาสนศาสตร์ ยุโรปและเยอรมันคือ Max Weber) ผู้ให้การสนับสนุน : Frank J. Good now และ Leanard D. White 2. หลักการบริหาร (The principle of Administration ผู้เขียน William F. Willoughby) ผู้ให้การสนับสนุน : Federick W. Taylor , Henri Fayol , Luther Guliek & Lyndall Urwick (คิดกระบวนการบริหาร POSDCORB) , Mary P Follet ผู้ไม่เห็นด้วย เพราะคิดว่าเป็นเพียงภาษิตทางการบริหาร (Proverbs of Administration) : Fritz M. Mark , Dwight waldo , John M. guas , Norton E. long 3. การบริหารรัฐกิจ คือ รัฐศาสตร์ (Public Administration as political science) ยุคนี้ไม่ค่อยมีความก้าวหน้านัก 4. การบริหารรัฐกิจ คือ ศาสตร์ทางการบริหาร (Public Administration Administrative science) แนวความคิด Organization Theory ทฤษฏีองค์การ และ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ Operation Research เน้นศึกษา System Analysis , Cybernatic , Network Analysis , Program management 5. การบริหารรัฐกิจ คือ การบริหารรัฐกิจ (Public Administration as Public Administration) นักวิชาการได้สร้าง รัฐประศาสนศาสตร์ให้เป็นสหวิชาการ (Interdisciplinary) ทำให้เกิดแนวคิด – การพัฒนาองค์กร , นโยบายสาธารณะ , ทางเลือกสาธารณะ , เศรษฐศาสตร์การเมือง , การจัดการองค์กรสมัยใหม่








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น